หน้าแรก     บทเรียน     โปรแกรม     ผู้จัดทำ     เอกสารอ้างอิง
 

- บทนำ
- การวัดความสอดคล้องกัน
- การวัดความสัมพันธ์



- พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง
- คณะวิทยาศาสตร์
- ภาควิชาสถิติประยุกต์

 

 

บทที่ 2
การวัดความสอดคล้องกัน(measure of agreement)


    การวัดความสอดคล้องกันจะแตกต่างจากการวัดความสัมพันธ์ ( Measure of association ) โดยจะเป็นการศึกษาว่าผู้ประเมิน 2 คน (หรือ k คน) มีความเห็นในทิศทางเดียวกันหรือไม่ในการจัดกลุ่มตัวอย่างลงในกลุ่มต่างๆ (หรือลำดับที่ต่างๆ) ความสอดคล้องกันสูงจะหมายถึงมีความสัมพันธ์กันสูงด้วย แต่ความสัมพันธ์ที่สูงอาจจะไม่มีความสอดคล้องกัน เช่น ถ้าผู้ประเมิน X ประเมินในหน่วยตัวอย่างในระดับที่สูงกว่าผู้ประเมิน Y ในทุกหน่วยตัวอย่าง นั่นคือ ความสอดคล้องกันต่ำ แต่มีความสัมพันธ์กันสูง

จะกล่าวถึงสถิติที่ใช้วัดความสอดคล้องกัน 3 ค่าดังต่อไปนี้

    Kendall coefficial of concordance , w

ใช้เพื่อวัดความสัมพันธ์ของชุดข้อมูล k ชุดที่มีลักษณะลำดับที่ (k sets of ranking) มีประโยชน์เพื่อใช้ในการศึกษาถึงความสอดคล้องกันของผู้ตัดสิน k คน (interjudge) หรือแบบทดสอบ k ชุด ( interest reliability) รวมทั้งสามารถนำนำไปประยุกต์เกี่ยวกับการจัดกลุ่มของตัวแปรต่างๆ (cluster of variable)

วิธีการ

ให้จัดข้อมูลลงในตาราง ชนิด k x n โดยที่แถวนอน จะหมายถึง k ตัวแปร(หรือผู้ตัดสิน k คน , แบบทดสอบ k แบบ) ที่มีค่าข้อมูลเป็นลำดับที่ 1- N เมื่อ N หมายถึง หน่วยทดสอบ(หรือแบบทดสอบ) ที่ถูกจัดลำดับที่ เช่นผู้บริหาร บริษัทแห่งหนึ่ง 3 ท่าน สัมภาษณ์ผู้สมัครเข้าทำงาน 6 คน สมมติได้ค่าลำดับที่ของผู้สมัครทั้ง 6 ดังตารางต่อไปนี้

ผู้สมัครคนที่
ผู้บริหาร
a
b
c
d
e
f
x
1
6
3
2
5
4
y
1
5
6
4
2
3
z
6
3
2
5
4
1
ผลรวมลำดับที่ Ri
8
14
11
11
11
8
ค่าเฉลี่ยลำดับที่
2.67
4.67
3.67
3.67
3.67
2.67

  จากตัวอย่างข้างต้น ถ้าใช้สูตรที่ 3 จะได้ค่า w ดังนี้

ค่า w จะมีค่าในช่วง ( 0-1 ) จะไม่มีค่าเป็นลบ เนื่องจากในกรณีที่มี k ชุดของข้อมูล จะไม่มีชุดข้อมูลใดที่จะสัมพันธ์ทิศทางตรงกันข้ามอย่างสมบูรณ์ได้

การทดสอบนัยสำคัญของ w

โดยตั้ง

: ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง k ตัวแปร

: มีความสัมพันธ์ระหว่าง k ตัวแปร

กรณีตัวอย่างเล็ก เมื่อ k = 3 ถึง 20 และ N = 3 ถึง 7 ใช้ตารางค่าวิกฤติของการแจกแจงของตัว

สถิติ w โดยตรง โดยจะปฏิเสธ เมื่อค่า w จากตัวอย่างมีค่ามากกว่าหรือ เท่ากับค่าวิกฤต ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 หรือ 0.05

กรณีตัวอย่างใหญ เมื่อ N >7 จะใช้การแจกแจงไคสแควร์ ด้วยสูตรดังนี้

= k (N – 1 ) w

ถ้าค่า จากตัวอย่าง มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับค่าวิกฤต ที่องศาความเป็นอิสระ = N – 1 จะปฏิเสธที่ระดับนัยสำคัญหนึ่ง

ตัวอย่างที่ 1 จากตัวอย่างข้างต้น ซึ่งได้ w = 0.17 เมื่อ k = 3 N= 6 ใช้ตารางค่าวิกฤตของ w ที่ a =0.05 ได้ค่าวิกฤต w =0.660 ดังนั้น สรุปว่า w ไม่ตกในอาณาเขตวิกฤตจึงยอมรับ นั่นคือ การให้ลำดับที่ของผู้บริหารทั้ง 3 เป็นอิสระกัน

โปรแกรมคำนวณ

_____________________________________________


     Kendall coefficient of agreement u for paired comparison or ranking

     ในหัวข้อที่ผ่านมา การให้ผู้ตัดสิน(ตัวแปร k ตัว) ให้ลำดับที่ 1- N อาจจะทำได้ยากเมื่อ N ใหญ่ ดังนั้นแทนที่จะให้ลำดับ 1- N อาจให้ผู้ตัดสินลำดับที่ในคู่ของหน่วยทดลอง และให้ผู้ตัดสินเปรียบเทียบในคู่นี่ว่า หน่วยทดลองใดที่ดีกว่า

วิธีการ จากหน่วยทดลองขนาด N ให้จับคู่เพื่อเปรียบเทียบ ซึ่งจะได้จำนวนคู่ทั้งหมด N C 2 คู่ เช่นมี N=4 ด้วยหน่วยทดลอง a,b,c,d สามารถ จับคู่ได้ 4 C 2 คู่ = 6 คู่ และให้เปรียบเทียบภายในคู่ สมมติได้ข้อมูลดังนี้

คู่         หน่วยทดลองที่ถูกเลือก (Preference)

(a,b)         a

(a,c)         a

(a,d)         d

(b,c)         b

(b,d)         d

(c,d)         d

และนำข้อมูลที่ได้มาจัดลงตารางที่เรียกว่า Preference matrix ซึ่งจะสรุปถึงจำนวนครั้งที่แต่ละหน่วยทดลองถูกเลือก (หรือมีลำดับที่นำหน้า) เมื่อเทียบกำหน่วยทดลองอื่น โดยแสดงถึงจำนวนครั้งที่ตัวแปรแถวนอนถูกเลือกเมื่อเปรียบเทียบกับตัวแปรตามแนวตั้งจากตัวอย่างข้างต้นจะได้ดังนี้

 

Preference matrix

 

a

b

c

d

a

-

1

1

-

b

-

-

1

-

c

-

-

-

-

d

1

1

1

-

 

     จะพบว่าความถี่ในแนวทะแยงมุมจะไม่มีค่าเสมอของผู้ตัดสิน k คน ถ้ามีการให้ลำดับที่สอดค้ลองกันอย่างสมบูรณ์ในแต่ละคู่ของหน่วยทดลองจะมี N(N-1)/2 เซลล์ที่ได้ความถี่ = k และที่เหลือ N(N-r)/2 เซล จะมีความถี่เป็น 0

จากตัวอย่างเดิมที่ผ่านมา ถ้านำข้อมูลมาสร้าง ตาราง Preference matrix จะได้ดังนี้

 

ผู้สมัครคนที่
ผู้บริหาร
a
b
c
d
e
f
X
1
6
3
2
5
4
Y
1
5
6
4
2
3
Z
6
3
2
5
4
1

Preference matrix

 

a

b

c

d

e

f

a

-

2

2

2

2

2

b

1

-

1

1

1

0

c

1

2

-

1

2

1

d

1

2

2

-

1

1

e

1

2

1

2

-

1

f

1

3

2

2

2

-

จากตัวอย่างข้างต้นสรุปได้ว่า ผู้บริหาร 3 คน เมื่อให้ลำดับที่ภายในคู่ จะมีความเห็นที่ไม่สอดคล้องกันค่อนข้างสูง (เนื่องจากค่าต่ำสุด = -1/3 = -0.33 )

การทดสอบนัยสำคัญของค่า U

: = 0 เมื่อ = ค่าพารามิเตอร์ของค่าสถิติ U

: 0

หรือ

: ไม่มีความสอดคล้องกันของคำตัดสินของผู้ตัดสินเมื่อเปรียบเทียบทีละคู่

: มีความสอดคล้องกันของคำตัดสินของผู้ตัดสินเมื่อเปรียบเทียบทีละคู่

เมื่อจำนวนผู้ตัดสิน = 6 (k = 6) และมีหน่วยทดลอง = 8 (N = 8) ใช้การแจกแจงของสถิติ U ช่วยตัดสินใจ โดยหาค่าพื้นที่ปลายขวาของโค้งการแจกแจงของ U ของค่า U ที่คำนวณได้ จากตัวอย่าง ซึ่งจะคือค่า p (p-value) พิจารณาค่าว่าค่า p ใหญ่พอหรือไม่ โดยทั่วไปถ้าใหญ่กว่า 0.05 จะยอมรับ

ในกรณีที่ k และ N เป็นกรณีอื่นๆ สามารถใช้การแจกแจงของ Chi'square ประมาณได้ดังสูตร

โปรแกรมคำนวณ

_____________________________________________

หน้าต่อไป>>   

 

 

 

 
 
  © Copyright 2006-2007 Astyleplus.net All Rights Reserved. Design by Interspire